วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563

วัคซีน COVID19 กับการสั่งจอง ของประเทศต่างๆ

https://pantip.com/topic/40205729

          ข้อมูลวัคซีนที่น่าจะได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกในไม่กี่เดือนนี้เขามีการจองวัคซีนกันมากๆเลยครับลองมาดูกันครับ

1.Moderna (NIH) 

US จองไว้ 1.5 $billion/100 million doses สิ้นปี2020

2.Biontech(Pfizer /FosunPharma) 

US จองไว้ 1.9 $billion /100 million doses delivered by December and next option 500 million doses

Japan 120 million doses

European Union 200 million doses 

Pfizer จะเริ่มผลิตทันทีในเดือนตุลาคมนี้ถ้าได้รับapproved และคาดว่าสามารถผลิตได้1.3billion dosesทั่วโลกภายในสิ้นปี 2021

3.AstraZeneca and the University of Oxford 

US วางเงินไว้แล้ว1.2 $billion(ไม่ได้บอกจำนวนแต่น่าจะ100million doses)

European Union 400 million doses 

4. Sinovac Biotech  บริษัทเอกชนจีน 

Indonesia ทำสัญญาส่งมอบ 40 million doses in March 2021

https://www.nytimes.com/interactive/2020/science/coronavirus-vaccine-tracker.html

       โดยรวมประชากรโลก 7 พันกว่าล้านคน  สักครึ่งนึงของประชากรได้รับวัคซีน.มีโอกาสเป็นไปได้จากศักยภาพของบริษัทยาหลักๆ.เสริมกับการสร้างherd immunity..การคาดการณ์ของบิลเกตส์โรคโควิด 19 น่าจะจบลงปี 2021 น่าจะเป็นจริงได้นะครับ

https://pantip.com/topic/40190259



          3 บริษัทแรกที่เลือกมาอยู่ในเฟส 3รอผลการทดลองผ่านแล้วองค์การอนามัยโลกรับรอง  ก็สามารถจะผลิตส่งมอบให้ฉีดในคนทั่วไปได้เลย  น่าจะเป็นบริษัทที่มีมาตรฐานในการผลิตสูง และมีความปลอดภัยสูงเช่นกัน ส่วนประสิทธิภาพวัคซีนอาจจะแค่ 50% หรือมากกว่า ประมาณเท่ากับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เน้นให้ฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุ..คนป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน..กับบุคลากรทางการแพทย์ก่อน  ประชากรที่เหลือหนุ่มสาววัยรุ่นสามารถช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อธรรมชาติได้ (herd  immunity) ก็น่าจะพอเมื่อมีการเปิดประเทศ อาจจะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นบ้างแต่อาการจะไม่รุนแรง

          ส่วนบริษัทที่ 4 ที่นำมาพูดด้วยเป็นของประเทศจีนซึ่งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสทำการจองซื้อวัคซีนกับเขาได้ในปริมาณมากพอที่จะใช้ในประเทศไทยเพราะ 3 บริษัทแรก..มีคิวจองวัคซีนเยอะมากถึงแม้ได้ข่าวประเทศไทยติดต่อกับทางมหาวิทยาลัย oxford อยู่.(AstraZeneca)ในเรื่องการให้ทุนร่วมวิจัยแต่ไม่รู้ข้อมูอยู่ลว่าได้ทำข้อตกลงส่งมอบวัคซีนให้ได้จำนวนเท่าไหร่ เลยคิดว่ารัฐบาลไทยควรไปหาบริษัทจีนที่พอน่าเชื่อถือได้ มาเป็นตัวเพิ่มยอดจองวัคซีนให้กับประเทศไทย น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ครับ

https://pantip.com/topic/40187921

         ในตอนแรกที่ผมติดตามเรื่องวัคซีนผมก็ไม่ค่อยมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยเท่าไหร่เนื่องจากระยะเวลาอันสั้นที่วิจัยค้นคว้าและผลิตวัคซีน.จาก10-15ปี มาเหลือเพียง18เดือนมันน่าสงสัยอยู่..แต่จากการติดตามดูเทคโนโลยีใหม่ๆที่ใช้ในการผลิตวัคซีน มีความปลอดภัยสูงมากซึ่งผลที่ตามมาอาจจะทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายที่ถูกกระตุ้น อาจจะอยู่ได้ไม่นาน เลยต้องฉีด2ครั้งกระตุ้นภูมิต้านทาน แต่ก็เพียงพอที่จะลดความเสี่ยง,ความรุนแรงของการระบาดลงได้

          กรณีของAstraZenecaที่ทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย oxford UKที่ทางการไทยสนับสนุนทุนร่วมวิจัย มีข่าวเกี่ยวกับผลข้างเคียงการทดลองวัคซีนเมื่อวันที่ 6 กันยายนนี้ทำให้ต้องหยุดการทดลองไว้ชั่วคราว  และมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความปลอดภัยที่เป็นองค์กรอิสระไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทยาทำการหาสาเหตุตรวจสอบเรื่องนี้  ผลออกมาปรากฎว่าไม่สามารถอธิบายความเกี่ยวข้องของวัคซีนกับอาการที่ผิดปกติได้ดังนั้นในวันที่ 12 กันยายนจึงเริ่มกลับมาทำการทดลองได้ใหม่แต่เฉพาะในUKเท่านั้นนะครับที่อื่นเขายังหยุดไว้ชั่วคราวก่อน

          ปัญหาพวกนี้เกิดขึ้นได้บ่อยครับในเฟส 3 มีคนเข้าร่วมการทดลองเป็น หมื่นๆ คน เพราะเขาคำนึงถึงความปลอดภัยสูงหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นเขาจะต้องหาสาเหตุให้เจอก่อนที่จะทำการทดลองต่อถ้าไม่พบความเกี่ยวข้องก็กลับมาทดลองต่อไป

https://www.astrazeneca.com/media-centre/press-releases/2020/covid-19-vaccine-azd1222-clinical-trials-resumed-in-the-uk.html

         อยากให้รัฐบาลไทย..สบค.เตรียมพร้อมในเรื่องของวัคซีนโดยด่วนถ้าจะทำการเปิดประเทศ ถ้าเรามีวัคซีนพร้อมฉีดก่อน มันจะปลอดภัยกว่าไม่มีวัคซีนนะครับ

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

แนวคิดของ Bill Gates ต่อวัคซีนCOVID 19

https://pantip.com/topic/40190259         

           Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Microsoft เขาได้ทำนายการเกิดโรคระบาดที่จะกระทบกับคนทั้งโลก มาล่วงหน้าหลายปี และบริจาคเงิน 100$ Million เป็นทุนเริ่มต้นดำเนินงานวิจัยที่สถาบันวิจัยของเขา เพื่อวิจัยวัคซีนโควิด มูลนิธิของเขา (The Bill and Melinda Gates Foundation)  เขาให้คำมั่นที่จะบริจาคเงินสูงสุดถึง1.6$ billion ในช่วง5 ปี เพื่อพัฒนาและผลิตวัคซีนช่วยเหลือคนในปท.ยากจนทั่วโลก

https://www.gatesfoundation.org/Media-Center/Press-Releases/2020/06/Bill-and-Melinda-Gates-Foundation-pledges-to-Gavi-the-Vaccine-Alliance

          เขาเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดอย่างมาก วัคซีนในหลายๆบริษัทที่ผ่านการทดลองน่าจะสรุปผลได้ในปลายเดือนกันยายนปีนี้และเขามั่นใจประสิทธิภาพวัคซีนมากกว่า 50% จะระงับการระบาดของโรคได้และ ขั้นตอนการพัฒนาวัคซีนมีความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ ราคาของวัคซีนถ้าผลิตจริงๆราคาต้นทุนไม่สูงมากแต่จะต้องรวมค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าทดลองวิจัยในตอนแรกซึ่งค่อนข้างสูงการตั้งราคาของวัคซีนที่จำหน่ายในประเทศที่มีรายได้ประชากรสูงก็จะตั้งในราคาค่อนข้างสูงและจะตั้งราคาใกล้เคียงต้นทุนราคาต่ำให้กับประเทศที่ยากจนด้อยพัฒนาจะทำให้สามารถได้รับวัคซีนกันทั่วถึงทั่วโลก

          แนวคิดของเขาในการฉีดให้กับจำนวนประชากรเพียงแค่ 30 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ..เขาก็เชื่อว่าสามารถจะระงับการระบาดได้แล้ว เพราะจะมีกลไกอื่นที่ช่วยด้วยเช่น การติดเชื้อตามธรรมชาติในชุมชน(hurd immunity)..เขาเชื่อว่าภายในปี 2021โรคระบาดCOVID19 ทั่วโลกจะจบลง

        ขอแสดงการคารวะ บุคคลที่ผมศรัทธาในความสามารถ และมีใจกุศลอันยิ่งใหญ่ ช่วยเหลือคนทั่วโลก อย่างหมดใจเลยครับ

        Thank you, Mr. William Henry Gates III 


 ลองฟังBill Gates อธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนโควิด กันครับ



           เขาพูดถึงการนำเอาโปรตีนในส่วนที่เป็นหนามแหลมของเชื้อโควิด นำมาเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาซึ่งจะมีผลข้างเคียงน้อยและปลอดภัย ที่สถาบันเขาใช้วิธีตัดต่อพันธุกรรมของRNAที่ใส่geneในการสร้างโปรตีนชนิดนี้เข้าไปเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานในร่างกายได้เรียกว่า RNA Vaccine ซึ่งเป็นวิธีการที่ใหม่และมีความหวังที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุด..และเชื่อว่าวัคซีนที่พัฒนาอยู่จะสามารถนำมาใช้ได้ภายใน 18 เดือนเพื่อผลิตให้เพียงพอกับประชากรโลก 7 พันล้านคน และนั่นคือจุดจบที่เราจะระงับการระบาดทั่วโลกได้

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563

วัคซีน covid 19 ความหวังของทางรอด หรือความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

 https://pantip.com/topic/40187921

          ในขณะที่ทั่วโลกกำลังพัฒนาวัคซีน covid 19 อย่างเร่งรีบให้ทันกับการแก้ปัญหาโรคระบาดที่ลุกลามไปทั่วโลก..จากขั้นตอนตามปกติพี่ต้องใช้เวลาพัฒนาวัคซีน 10 ถึง 15 ปีอย่างน้อย..เหลือเพียงเวลาไม่ถึง1-2 ปี ทำให้น่าสงสัยว่าวัคซีนที่ผลิตได้จะเป็น ความหวังของทางรอด หรือ มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของวัคซีน



          วัคซีนที่ใช้วิธีการรูปแบบที่ใช้ในการผลิต เหมือนพวก Influenza Vaccine,(เป็นRNA virusเหมือนกัน)คงหวังผลประสิทธิภาพดีกว่าเดิมได้ยาก สักประมาณ 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์คือ 50 50 มีโอกาสเป็นหลังฉีดแต่อาการอาจจะไม่รุนแรงในคนที่แข็งแรงนะครับ

          แต่เนื่องจากระยะเวลาอันสั้นในการวิจัยค้นคว้าที่เร่งการทดลองให้เร็วเกินไปสิ่งที่ตามมาคือความปลอดภัยอาจจะน้อยลง..เพราะว่าระยะเวลาในการสังเกตการณ์ทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทดลองphase3 (ทดลองในคนจำนวนมาก หลายพันคน) ปกติใช้เวลาตรวจสอบประสิทธิภาพ ดูอาการผลข้างเคียงกันหลายปี..เมื่อแน่ใจแล้วจึงส่งให้  องค์การอนามัยโลก (WHO) ตรวจสอบ และรับรอง จึงเข้าสู่กระบวนการผลิตออกสู่ตลาดได้



 โอกาสที่จะลดเวลาในการวิจัยค้นคว้าผลิตวัคซีนใหม่ๆสามารถทำได้
1.เทคโนโลยีใหม่ๆที่เราสามารถค้นหาคัดแยกพันธุกรรมของเชื้อไวรัส  หาชื้นสวนในเซลล์ที่เป็นเป้าหมายนำไปผลิตวัคซีนได้รวดเร็วขึ้น
2.ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ,เอกชน บริษัทยาลดขั้นตอนเวลาต่างๆลงได้
3.กระบวนการผลิตวัคซีนหลายรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้น
        ปัญหาที่ตามมาที่อาจเป็นไปได้ก็มีครับ
1.การกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจจะทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลงได้
2.ความเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนจากการฉีดวัคซีนเนื่องจากระยะเวลาในการตรวจสอบเฝ้าระวังดูอาการของกลุ่มคนที่ทดลองวัคซีนในเฟส 3 สั้นลง
3.ขั้นตอนการผลิตจำนวนมหาศาลที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมากมายอาจจะไม่เพียงพอในระยะเวลาอันสั้น
        มีตัวอย่างเช่น วัคซีนไข้เลือดออก ที่ผ่านกระบวนการต่างๆทุกขั้นตอนตามมาตรฐาน..จนWHOยอมรับแล้วออกมาขายในตลาดทั่วโลก..ปรากฏว่าที่ประเทศฟิลิปปินส์สั่งซื้อเป็นจำนวนมากเพื่อฉีดในเด็กทั้งประเทศยังต้องระงับเข็มที่ 3 ไว้เนื่องจากมีรายงานความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น 

ทางที่ดีหลังจากวัคซีน covid 19 ออกสู่ท้องตลาด ฉีดให้คนทั่วไปได้แล้ว. รอให้ปท.อื่นๆทดลองฉึด.(คิดว่าเป็น Extended Phase3 ละกัน)...ดูผลที่ตามมาก่อน อย่างน้อย 1 ปีถ้าแน่ใจเรื่องความปลอดภัยแล้วค่อยฉีดจะดีกว่าครับ (เป็นความเห็นส่วนตัวครับ)

                  Teddy Lim

                 10/9/2020

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

วัคซีน โควิด19 ณ.เวลานี้ อาจไม่ใช่สิ่งที่เราคาดหวังให้การระบาดจบลงได้

         https://pantip.com/topic/40182471/comment2

           เราทราบกันแล้วว่า ทั้งโรค sars,mers..( SARS- CoV- 1)มีความรุนแรงของโรคอย่างมากในระยะแรก มีอัตราการติดเชื้อ อัตราการตายสูง แต่ในท้ายที่สุดมันก็หายไปจากโลกนี้เองทั้งที่ยังไม่มีวัคซีนผลิตขึ้นมาใช้

         ครั้งนี้ covid 19 เป็นไวรัสสายพันธ์(SAR-CoV-2) น้องของโรคทั้งสองที่มีมาก่อน..ประวัติศาสตร์น่าจะพอจะบอกได้ว่าความรุนแรงของโรคมันจะค่อยๆลดลงไปเองโดยธรรมชาติของไวรัสที่กลายพันธุ์ อ่อนแอลง รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่จะพัฒนาต่อต้านมันได้โดยธรรมชาติ (Herd Immunity) แล้วเราจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไรล่ะครับ

คำตอบน่าจะเป็น..ระบบภูมิคุ้มกัน memory T cell (เม็ดเลือดขาวที่จดจำการสร้างภูมิต่อต้านเชื้อโรค)ที่กำลังศึกษากันอยู่จะไขปริศนานี้ครับ

         เม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวกับการสร้างภูมิต้านทานโรค คือ Lymphocyte มี 2ชนิด คือ

1. B Lymphocyte  มีหน้าที่สร้างภุมิต้านทานโรค( Antibody)

2. T Lymphocyte มี 2ชนิด

    2.1 T Helper cell( CD4+) เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ B Lymphocyte สร้าง antibody

    2.2 T Killer cell (CD8+) เป็นตัวจับทำลายเชื้อโรคโดยตรง

     แต่ในระบบT cell หลังจากมีการทำงานตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว ยังมีการจดจำชนิดเฉพาะ ของเชื้อโรต เก็บไว้ใน Memory T cell อยู่ในร่างกายหลายๆปี ซึ่งเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำ จะมีการสร้างภูมิต้านทาน ( Antibody) ขึ้นมาอีกได้อย่างรวดเร็ว แม้ในตอนที่ติดเชื้อซ้ำจะไม่มี Antibody เหลืออยู่ในร่างกายเลย แต่ร่างกายก็จะไม่มีอาการป่วยเกิดขึ้นอีก

https://www.medscape.com/viewarticle/936180



         คนที่หายจากโรคcovid จะมี Antibody ในช่วงหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน  แต่หลังจากนั้นก็จะหมดไปแต่ Memory T cell ที่จดจำระบบการสร้างภูมิต้านทานฆ่าเชื้อโรคมันได้อยู่หลายเดือน หรือหลายปี ย้ำนะครับหลายปี ถึงจะมีการติดเชื้อซ้ำ โดยไม่มีAntibody เหลืออยุ่เลย ก็อาจจะมีอาการน้อยมาก หรือไม่มีอาการเลยครับ จะไม่มีการแพร่เชื้อได้อีก แม้จะตรวจ เจอเศษซาก COVID 19 จาก การตรวจ RT-PCR เป็นผลบวกก็ตาม

         ในคนที่ไม่เคยติดเชื้อcovid มาก่อนก็มีการตรวจพบ Memory T cell ชนิดนี้ เชื่อกันว่าอาจจะเเกิดจาก

     1. เคยได้รับเชื้อ SARS-CoV-1 ตั้งแต่สมัยSARS, MERS (ตั้งแต่ ปี2003, 2004 เกือบ17 ปี ผมว่ามันนานไปหน่อย)

     2. ได้รับเชื้อไข้หวัดธรรมดา สายพันธุ์ corona ชนิดอื่น 4 ชนิด

     3. ได้รับ เชื้อBetacorona virus จากสัตว์ พวก วัว สุนัข ค้างคาว สัตว์จำพวกกระรอก(Rodent)

     ที่ได้รับเข้าไปเป็นตัวกระตุ้น Memory T cell แล้วมี  การกระตุ้นภูมิข้ามไปยังเชื้อที่มีลักษณะใกล้เคียง(cross reaction)ในการป้องกัน covid 19(เป็นcorona virusเหมือนกัน)ได้ด้วยจึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงลดลง อาการก็ไม่มีหรือมีน้อย..ยกเว้นพวกที่มีโรคแทรกซ้อน คนสูงอายุ โรคเรื้อรัง จะมีภูมิต้านทานไม่ดีระบบการสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งB cell และ T cell ก็จะไม่สมบูรณ์เลยมีอาการรุนแรงถึงตายได้

https://www.nature.com/articles/d41586-020-02400-7





 Memory T-cellsตรวจพบระดับสูงมากหลังติดเชื้อโควิด 19 ทั้งที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย แม้กระทั่งสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย(Natural Exposed to SARS CoV2) ก็ตรวจพบเช่นกัน


           ส่วนการติดตามดูวัคซีน COVID19 ถึงตอนนี้ เริ่มมีการมุ่งเน้นไปทาง พัฒนา Memory T cell กันมากขึ้น ในสัตว์ทดลองเริ่มมีความหวัง ( DNA vaccine ในหนูทดลอง) แต่ยังไม่มีวี่แววในคนเลยนะครับ ถึงแม้บางบริษัท(Astrazeneca,AZD1222 )มีการพูดถึงการกระตุ้น Neutralising Antibody ได้สูงถึง91%  หลังจากฉีดเข็มแรก( แต่อยู่ได้ไม่นานพอต้องฉีดเข็มสอง) และ 100%หล้งจากฉีดเข็มสอง แต่รายละเอียดของการกระตุ้น Memory T cell ไม่มีพูดถึง อัพเดทข้อมูลวัคซีนในตอนนี้ผมยังไม่แน่ใจในเรื่องการกระตุ้น memory t-cellได้..อย่างมีประสิทธิภาพดีพอ ( mRNA-1273 (Moderna) 0.2%; BNT162b1 (Biontech/Pfizer) 0.4%; AZD1222 (Astrazeneca) 0.7%,)


https://www.evaluate.com/vantage/articles/news/trial-results/covid-19-vaccine-contest-turns-t-cell-responses





Vaccine. Covid..อาจไม่ใช่คำตอบที่จะจัดการกับการระบาดของCOVID19 ได้ดีพอ..นะครับ..จากประสิทธิภาพของวัคซีนเองที่ยังไม่ชัดเจนในการป้องกันระยะยาว และ การจัดสรรวัคซีนให้ประเทศไทย ประเด็นที่สำคัญ เราจะได้รับวัคซีนกันเมื่อไร คงอีกนานครับ จากสาเหตุ
                 1. ประเทศใหญ่ๆ เขาจองวัคซีนไว้จำนวนมหาศาลให้คนที่ประเทศเขาฉีดแล้วกับบริษัทผลิต

2. ความเร่งด่วนในการช่วยเหลือ ประเทศที่สถานการณ์ ที่แย่กว่าเรา

                   3. ถ้าจะฉีดเพื่อให้การระบาดของโรคหมดไป วัคซีนต้องมีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 70%และต้องฉีดในประชากร100% เราจะมีงบประมาณจัดสรรได้ไหม

     ดังนั้นการผ่อนคลายให้มี Herd immunity..ที่ควบคุมอัตราการตาย..การเจ็บป่วยรุนแรงไม่ให้เกินกำลังของรพ.ที่จะรองรับได้..(scenario ที่2ของการจัดการกับโรคระบาด..แต่ไทยใช้แบบที่3.ไม่ให้มีการติดเชื้อในชุมชนเลยหวังพึ่งวัคซีนแก้ปัญหา)..น่าจะเป็นวิธีจัดการกับcovid19ได้ในระยะยาวนะครับ..การศึกษาลงลึกใน memory t-cellต่อเชื้อSARS CoV2น่าจะเป็นกลไกของการควบคุม covid อย่างถาวร

     มีตัวอย่างที่แอฟริกา ซึ่งมีบริการสาธารณสุขที่แย่ ประชาการแออัด อาชีวอนามัยก็ไม่ดี แต่ตอนนี้ สถานการณ้ดีขึ้นจนน่าแปลกใจ โดยส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะมาจากherd immunity ในกลุ่มหนุ่มสาว..เป็นปัจจัยหลัก  






ในที่สุด Herd immunity..น่าจะเป็นคำตอบของการควบคุมCOVID19 อย่างถาวร.อยู่ได้หลายปี.ไม่ใช่วัคซีนครับ..ที่มีผลต่อป้องกันได้ไม่กี่เดือน

คงต้องให้ตัวแทนคนหนุ่มสาวอายุน้อยที่แข็งแรงติดเชื้อสร้าง  herd immunityกันไปนะครับ

ส่วนพวกเราสูงวัย..คนที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังต่างๆ..หรือภูมิต้านทานบกพร่องคงต้องป้องกันตัวกันให้ดีระวังการติดเชื้อ  และรอการฉีดวัคซีนกันทุกปีล่ะครับ..เหมือนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่..แต่ไม่รู้จะให้ฉีด 2 ครั้งด้วยหรือเปล่า

Teddy Lim.

September 8, 2020


วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การคาดการณ์ โควิด 19 (COVID 19) ในปท.ไทย

         ผมได้ติดตามการระบาดของ Covid19ตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์2563 ในเรื่องที่มีความเห็นขัดแย้งกับการคาดการณ์ตัวเลขของผู้ป่วยที่จะมีการระบาดจำนวนสามแสนห้าหมื่นคนถ้าคุมไม่ได้หรือถ้าคุมได้จะลดลงเหลือ20,000 กว่าคนภายในวันที่ 15 เมษายน 2563 จากคำแถลงของกลุ่มแพทย์อดีตคณบดีและคณบดีของโรงเรียนแพทย์นำเสนอต่อนายก จึงทำให้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารโควิด ศบค.เกิดขึ้นรวมทั้งการปิดล็อคประเทศปิดห้างสรรพสินค้าห้างร้านต่างๆรวมทั้งเคอฟิวที่ตามมา


https://www.hfocus.org/content/2020/03/18802
https://news.thaipbs.or.th/content/289799




       ผมมีความเห็นแย้งในเรื่องของตัวเลขมาตลอดโดยคำนวณจากกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าข่ายน่าสงสัยที่มีความเสี่ยง( pui )รายวัน และการตรวจในแต่ละวันในช่วงนั้นแค่วันละ 500 ราย มีการเตรียมเทส ใว้วันละ 4-5000 เทส แม้กรมควบคุมโรค จะพยายามเพิ่มเป็น 10000 เทส ต่อว้น ในเวลาต่อมา โอกาสที่จะเพิ่มขึ้นมากพอที่จะตรวจพบคนไข้รายใหม่สะสมถึง 20,000 คนในวันที่ 15เมษายน2563 เป็นไปได้น้อยมาก  เพราะถ้าดูจากปท. อื่น เช่นเยอรมัต้องตรวจสะสมถึง160000เทส ขึ้นไป..ถึงจะพบผู้ป่วยจำนวน 24000คน ซึ่งเมื่อถึงวันที่15เมษายน 2563 ตัวเลขแค่2700+ คนแค่นั้น



เมื่อวันที่ 13เมษายน 2563 ผมคาดการณ์ไว้ว่า
          จากกราฟตรวจเลขผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจนเหลือ 0 คนน่าจะประมาณวันที่ 18 เมษายน..ถ้ามีปัจจัยอื่นเช่นคนไทยเดินทางเข้าประเทศป่วยเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ล่าช้าออกไปแต่ผมว่าไม่เกินวันที่ 30 เมษายนนี้นะครับขอดูตัวเลขอีกสัก 1 อาทิตย์หลังจากมีคนไทยเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศสักระยะ

        ประมาณ 1พค.ตัวเลขผป.น่าจะนิ่ง..เป็น0 สักระยะ..อาจมีเพิ่มขึ้นก็น่าจะแค่เลขตัวเดียว...รัฐจะผ่อนปรนให้มีการทำกิจกรรมมากขึ้น..โดยมีการเฝ้าระวังต่อเนื่อง..เศรษฐกิจคงจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3 เดือนถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง






       วันที่ 22เมษายน2563 มีการเปลี่ยนแปลงของความชันเส้นกราฟ เลยต้องคาดการณ์ใหม่
จากแนวโน้มของกราฟขณะนี้ตัวเลขจำนวนผู้ป่วยใหม่รายวันน่าจะมีโอกาสลงมาเป็นเลขตัวเดียวภายในวันที่24-25เมษายนนี้แล้วจะมีโอกาสเห็นจำนวน 0 คนก่อนสิ้นเดือนเมษายนตัวเลขจะนิ่งไปเรื่อยๆอยู่ระดับเลขตัวเดียวมีโอกาสที่จะผ่อนปรนมาตรการ lock down ของแต่ละจังหวัดได้แล้วนะครับหวังว่า ศบค.คงจะเห็นใจประชาชนบ้างนะครับ
      การคำนวณอัตราการเพิ่มหรือลดของการติดเชื้อ การเปลี่ยนแปลงของสโลปมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานะครับไม่ใช่คงที่เสมอไปอาจจะต้องพิจารณาเป็นช่วงเวลาตามเทรนของมัน..แต่ที่ผ่านมาการใช้ตัวเลขอัตราการเพิ่มขึ้นของสโลปของกราฟที่เป็นค่าคงที่แบบexponentialมาคำนวณเลยทำให้เกิดการคาดการณ์ตัวเลขที่มากเกินไปมหาศาล..ต้องใช้ค่าdifferential ของความชันslope มาคิดคำนวณครับในแต่ละช่วงเวลาจะแม่นยำกว่า
    เข้าใจว่าความเห็นของแพทย์มีสองฝ่าย ที่ขัดแย้งกันนะครับ แต่ระยะเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าที่ผ่านมาฝ่ายที่มองในแง่ร้ายเกินไปคาดการณ์ผิดนะครับ
จากการคาดการณ์ตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการระบาดไม่ได้รุนแรงตามที่บอกไว้  การที่ให้ระวังป้องกันไว้ก่อนก็ดีนะครับ แต่ควรทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ข้อมูลที่นำเสนอต้องไม่มีอคติทางความคิดชักนำให้เอนเอียงตามผู้ที่นำเสนอชี้นำ อย่าใช้ความกลัวมาชู่ให้ประชาชนร่วมมือ แต่ใช้ความจริงของเหตุผลที่ถูกต้องอธิบายให้เข้าใจ น่าจะดีกว่านะครับ ถ้าไม่มีปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า จะคุมเข้มกันอย่างไรก็ทำไปเถอะครับ แต่นี่ชาวบ้านเดือดร้อน ลำบากกันไปทั่ว  รัฐบาลแบกรับภาระช่วยเหลือต่อไปไม่ไหวหรอกครับ
       จำนวนคนไข้ใหม่สะสมอย่างเดียวอาจจะใช้พิจารณาในการผ่อนปรนการปลดล็อคไม่ได้หรอกครับ..คงต้องดูในกลุ่มผู้ป่วยใหม่ด้วยว่ามีผู้ป่วยอาการหนักต้องรับการรักษาในเตียงผู้ป่วยกี่ราย..อาการเล็กน้อยเพียงแค่กักตัวกี่ราย..พิจารณากับสัดส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ที่จะดูแลเพียงพอหรือไม่..ณ.ตอนนี้เตียงผู้ป่วยยังเหลือเยอะเลยนะครับที่ลองเช็คดูเกือบ 2700 เตียงที่เตรียมไว้..ผู้ป่วยอาการหนักที่รับการดูแลในโรงพยาบาลก็ยังรับไหวอยู่..ถ้าไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจที่กระทบถึงประชากรส่วนใหญ่ผมก็เห็นด้วยครับที่จะใช้ทฤษฎีนี้ตามนั้นเลยแต่ตอนนี้คนทั่วประเทศกำลังจะอดตายแล้วครับ..คงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลกระทบปัญหาสาธารณสุขกับคน..จำนวนคนอาจจะถึงแสนคน..กับผลกระทบปัญหาเศรษฐกิจกับคนจำนวนหลายสิบล้านคนนะครับ..ปท.จะเดินต่อไปไม่ไหว



          เรื่องการระบาดซ้ำไม่ได้เป็น2nd wave..อย่างที่กลัวกัน มันเป็นแค่ วัน2วัน..ก็ลดลงอย่างมาก..ไม่มีระยะเวลาขึ้นลงนานพอที่จะสร้างwaveได้  ลองดูตัวอย่างไต้หวันกับจีนที่เริ่มผ่อนปรนมาตรการนะครับก็ยังมีบางวันที่มีการเพิ่มสูงของคนไข้ไหมขึ้นมาเยอะเหมือนกันแล้วก็ลดลงไปครับไม่ใช่สูงต่อเนื่องกันไปตลอดวันนี้ไม่น่าตกใจหรอกครับว่าจะเป็น2nd wave แต่ถ้าทาง  ศบค.กลัวมากถึงขั้นจะให้มีคนไข้ศูนย์คนติดต่อกัน 14 วันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ  รอดูครับว่าจะโดนชาวบ้านบ่นกันแค่ไหน..ถ้าทำอย่างนั้น ดูจากต่างประเทศแล้วมันก็ไม่ได้รุนแรงเกินการควบคุม ไม่ได้น่ากลัวอะไรจนเกินไป  ผมว่าน่าจะผ่อนผันได้นะครับ ลองรอดู บุรีรัมย์ โมเดลที่เขาจะเปิดเมือง1พค.นำร่องก่อนก็ได้ครับ..

            เข้าใจนะครับที่ทุกคนก็เป็นห่วงตัวเอง ญาติพี่น้องที่อาจจะติดเชื้อcovid19 โชคร้ายอาจถึงตายได้ แต่โอกาสน้อยครับถ้าดูแลสุขอนามัยเป็นอย่างดี ใส่mask รักษาระยะห่างทางสังคม กินร้อนช้อนส่วนตัว แต่อยากให้นึกถึงเพื่อนร่วมชาติคนอื่นที่เดือดร้อนมาก บางรายคิดสั้นถึงกับฆ่าตัวตาย มีจำนวนมากที่ลำบากเขารอโอกาสที่จะกลับมาทำมาหากินได้ ช่วยตัวเองได้อีกครั้ง ไม่ได้หวังพึ่งคนอื่นตลอดไป เราต้องมีสติที่จะอยู่ร่วมกับคนในชาติคนอื่นแบ่งปันทุกข์สุขกันไป ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคระบาดใหม่ในครั้งนี้ เหมือนกับที่เราอยู่กับโรคระบาดอื่นๆมาก่อนหน้านี้ เช่นไข้หวัดใหญ่ โรคหัดฯลฯ การระบาดที่ควบคุมได้ไม่ใช่ต้องกำหนดตัวเลขคนใข้ใหม่เป็น0 แต่เพียงให้จำนวนคนไข้ไม่เพิ่มขึ้นรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น จนบริการสาธารณสุขรองรับไม่่ไหว กดกราฟผู้ป่วยให้ต่ำลงไป ผ่อนปรนให้คนมีอาชีพดำเนินชีวิตเขาต่อไปได้อย่างมีศักดิ์ศรี
     


         จากตัวเลขจำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงสุด 188 คนเมื่อวันที่ 22 มีนาคม มีผู้ป่วยที่เข้าข่ายนิยามการเฝ้าระวังโรค (p u i )ได้รับการตรวจ582ราย
ส่วนวันที่ 29 มีนาคมมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 143 รายในขณะที่มีผู้ป่วยที่เข้าข่าย puiที่ได้รับการตรวจเชื้อ1388คน







        แต่ใน 2 วันที่ผ่านมา ศบค.หาผู้ป่วยมาตรวจอย่างบ้าระห่ำ 2,000 กว่าถึง 4000 คน..ตรวจเจอผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้วันละ 7 คน 9 คนเองครับ..อะไรกันนี่





         ศบค. พยายามหาคนไข้ที่เข้าข่ายน่าสงสัยมาตรวจได้จำนวนมาก, มากจนน่าแปลกใจ วันที่ 28เม.ย.  2436 ราย ตรวจเจอ 7คน วันที่29เม.ย. เพิ่มมาเป็น4096 คน เยอะมากๆ ตรวจเจอ 9 คน ช่วงที่ตรวจเจอกันเป็นร้อยๆคน pui หามาตรวจได้ พันกว่าคนเองครับ
ค่าใช้จ่ายในการตรวจอย่างต่ำ3000บาท เห็นว่าเตรียมชุดตรวจสำรองไว้วันละแสนชุด..เสียดายเงินเหมือนกันเอามาช่วยคนอดอยากดีกว่า
        กลัวว่า ศบค.จะใ่ม่ยอมให้จบง่ายๆนะครับ ถ้ายังมุ่งหาตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่อย่างนี้ แทนที่จะดูตัวเลขผป.  ที่มีอาการหนักต้องเข้ารพ.เป็นหลักมากกว่า เพื่อควบคุมไม่ให้มากเกินไปจนรพ. รองรับไม่ไหว  ถ้าไม่มีการระบาดในชุมชน ทุกคนยังร่วมมือป้องกันใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง ตามคำแนะนำ ก็น่าจะพอแล้วครับ
        ตอนนี้การระบาดในชุมชนตัวเลขน้อยลงไปมากแล้วถ้าจะไปตรวจในกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ๆที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อสูงก็ต้องหาให้ดีๆหน่อยนะถึงจะเจอ
ถ้าสุ่มตรวจหลากหลายพื้นที่ก็โอเคแต่ถ้าจงใจจะตรวจให้ได้ตัวเลขผู้ติดเชื้อมากขึ้นแบบจงใจอันนี้ผมก็ไม่เห็นด้วยนะ
หรือว่าชุดตรวจมันเหลือเยอะเกินไปเห็นว่าจะสำรองไว้วันละเป็นแสน test แต่การตรวจวันหนึ่งผมว่าคงไม่เกิน 2,000 ราย ตัวเลข pui มันน้อยลงไปทุกวัน เสียดายงบนะผมว่าชุดตรวจบวกชุดPPEต้นทุนไม่น่าจะต่ำกว่า 3,000 บาท 100000test ก็ประมาณ 300 ล้านบาทเปลี่ยนเป็นเอาเงินมาแจกจ่ายคนเดือดร้อนตกงานตอนนี้ดีกว่ามั้ง..stockทั้งยารักษาทั้งชุดตรวจคงเหลือเยอะมากเลยนะครับเพราะเชื่อในการคาดการประเมินตัวเลขสูงเกินจริงไปมากมายมหาศาลหรือว่ามีส่วนเงินทอนจากการจัดซื้อจัดหามาหรือเปล่า..เสียดายเงินจัง

          ความกลัวเกิดจากความไม่รู้ถ้ารู้ข้อมูลอย่างแท้จริงโดยปราศจากอคติเราจะไม่กลัวแล้วจะกล้าที่จะแก้ปัญหาเดินไปข้างหน้าได้ครับ

         ในสายตาชาวโลกประเทศไทยมีผลงานที่ดีมากในการจัดการกับโรคโควิดมาได้ครึ่งทางแล้ว..ส่วนที่เหลือที่จะปิดฉากลงอย่างสวยงามคือการฟื้นฟูประเทศเศรษฐกิจพร้อมๆกับการควบคุมมาตรฐานป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างดีอยากให้จบสวยๆครับ
          มาตราการป้องกันกันคงต้องทำกันต่อไป แต่การผ่อนคลายให้มีกิจกรรมมากขึ้นแล้วกลัวว่า คนที่มีเชื้อเป็นพาหะไม่มีอาการ จะทำให้เกิดการแพร่เชื้อระบาดในวงกว้าง เป็นไปได้ยากนะครับ ถ้าทุกคน สวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง ใช้ของส่วนตัว มันตัดวงจรการระบาดในชุมชน ได้อยู่แล้วครับ อาจจะมีติดเชื้อได้บ้างก็อยู่ในกลุ่มสมาชิกครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้เป็นวงกว้างควบคุมได้ครับ ไม่ต้องกังวลเลย
         การคาดการณ์ที่เลวร้ายไว้ก่อน เพื่อเตือนให้เฝ้าระวังกันต่อไป เป็นเรื่องดีครับ ถ้าไม่มีปัญหาเศรฐกิจกระทบคนในวงกว้าง ทำไปเถอะครับ แต่นี่มันต้องพิจารณาในองค์รวมของปท. คนในชาติที่เดือดร้อน และรัฐบาลคงแบกรับภาระชดเชยเยียวยาไปไม่ได้ตลอดหรอกครับ โปรดเชื่อใจประชาชนเถอะครับ ที่ผ่านมาเขาให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จนตัวเลขผป. ใหม่ลดลงไหเยอะแล้ว ลองให้โอกาสพวกเขาสักครั้งเถอะครับ       อย่าตึงเกินไปจนเศรษฐกิจพัง..อย่าผ่อนเกินไปจนตัวเลขผป.ใหม่ สูงจนผป.หนักโรงพยาบาลรองรับไม่ไหวแต่ผมว่าโอกาสเกิดน้อยมากเพราะ ศบค.ขี้กลัวอยู่แล้วคงค่อยๆผ่อนปรนกันไปถ้าเราทำสำเร็จแล้วจะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นตัวอย่างในการจัดการกับปัญหาโควิด..ระดับโลกเหมือนไต้หวันนะครับรอเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเดียวที่จะยืนยันความสําเร็จนี้




        มีหน่วยงานในองค์กรใหญ่หลายหน่วยงาน แต่ละหน่วยงานต้องการนำเสนอผลงานของตัวเองให้ดีที่สุดเป็นเรื่องดีแต่ถ้าสนใจเฉพาะหน่วยงานของตัวเองอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นในองค์กรต่อให้ผลงานดีมากแค่ไหนองค์กรก็คงจะเติบโตได้ยาก
ต้องทำงานกันเป็นทีมนะครับแต่ละหน่วยงานต้องทำงานอย่างบูรณาการให้ผลงานของแต่ละหน่วยงานออกมาดีองค์กรก็จะก้าวไปข้างหน้าได้
       "รักษาคนไม่ใช่รักษาโรค" เป็นคำที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เคยกล่าวใว้ในอดีต รักษาคนไข้ให้หายจากโรคและสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามปกติ ไม่ใช่ว่าหายจากโรคอย่างเดียว ต้องคำนึงถึง สภาพครอบครัว อาชึพ ที่มีผลกระทบจากการรักษาคนไข้ด้วย...
        ผมหวังอย่างยิ่งว่า รัฐบาลจะ  "รักษาประเทศไทย ไม่ใช่รักษาแต่โรค  covid ของประเทศ" เพียงอย่างเดียวนะครับ
https://pantip.com/topic/39854014/comment18-1